จ.ตรังนี่เค้ามีโรงพระ(เจ) เยอะพอๆ กะวัดครับ มีทั้งโรงเล็ก,ใหญ่ แต่ที่ดังๆ แล้วจัดพิธีกินเจ นี่เห็นจะมีอยู่ซัก 3 โรง โรงพระของ อ.ห้วยยอด ก็เป็นหนึ่งในนั้น เวลาจัดพร้อมกันเกือบทั้งจังหวัดแหละครับ โรงเจที่บ้านเกิด(อ.ห้วยยอด)ผม ก็มีการจัดประเพณีกันมาช้านานแล้ว (แถมมีการกินเจ ปีละ 2 ครั้ง)
ครั้งแรกประมาณเดือน สค. กินเจเนื่องในโอกาสวันเกิดเจ้าแม่กวนอิมหรือไม่ก็บรรลุธรรมกินเจครั้งนี้กินกัน 7 วัน
ส่วนครั้งที่สอง ก็คือที่กินกันทั้งประเทศนี่แหละ (คนรุ่นก่อนเค้าเรียกกินเจนี้ว่ากินเจของ กิวอ๋อง)
ที่ตรังกับที่ อ.ห้วยยอดไม่รู้ว่าใครมีการกินเจก่อนกัน เพราะตั้งแต่ผมจำความได้ที่เค้าก็มีกันแล้ว เวลาพระออกเที่ยว (อิ๋วเก๋ง) ก็มักจะทำพร้อมกันกับโรงเจของตัวจังหวัด แน่นอนว่าในจังหวัดเค้าจัดได้ยิ่งใหญ่กว่าตัวอำเภออยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นขบวนหรือ ร่างทรงที่มีจำนวนมาก รวมทั้งชาวบ้านที่ตั้งโต๊ะบูชาตามเส้นทางของขบวนออกเที่ยว แต่
การออกเที่ยวของโรงเจ อ.ห้วยยอดค่อนข้างจะยึดติดกับการทำพิธีแบบเรียบง่ายครับ คือจะไม่ให้ร่างทรงแสดงอภินิหารแบบหวาดเสียว เช่นการเอาของแหลมทิ่มแทงร่างกาย หรือไม่ก็ลุยกระเบื้อง จริงๆแล้วเรื่องการแสดงอภินิหารนี่แรกเริ่มเดิมทีไม่มีนะครับในการออกเที่ยว อย่างมากก็เอาดาบเชือดลิ้นร่างทรงเพื่อที่จะเอาเลือดนั้นมาเขียนยันต์ให้กับชาวบ้านที่ตั้งโต๊ะไหว้ เรื่องการแทงปาก ด้วยเหล็กแหลมพึ่งมามีเมื่อซัก 10กว่าปีก่อน แต่ช่วงหลังทางคณะกรรมการโรงเจ อ.ห้วยยอดเห็นว่าเป็นการหวาดเสียวมากกว่าเลยมีความเห็นว่าไม่ให้มีการแสดงอภินิหารที่ดูแล้วหวาดเสียวอีก หากร่างทรงองค์ไหนต้องการแสดงก็นิมนต์ไปร่วมขบวนของทาง จ.ตรังได้เลยทีโน่นเค้าไม่ห้าม อยากจะฟัน อยากจะแทง อยากจะลุยกระเบื้อง ไต่บันไดมีดก็ตามสบาย แต่มี อ.ห้วยยอดยังคงจะมีพีธีลุยไฟอยู่ แต่ไม่ได้ลุยกันทุกปีนะ รู้สึกจะ 3หรือ 4ปีจึงจะจัดให้มีซักครั้ง
ในใจคิดไว้ว่าจะอยู่ถ่ายรูปพิธีพระออกเที่ยวในตัวจังหวัด แต่เนื่องจากมีข่าวลือกันหนาหูว่า ตรัง ก็เป็นเป้าหมายในการก่อความไม่สงบด้วย อีกทั้งเมื่อตอนยกเสาตะเกียง ก็มีข่าวว่าเสาตะเกียงได้หักลง (ฟังจากข่าว) เลยล้มเลิกการที่จะถ่ายรูปในตัวจังหวัด โดยเปลี่ยนไปตั้งโต๊ะไว้พระที่ตัว อ.ห้วยยอด (บ้านเกิด) แทน ทั้งๆที่เวลากลับตรังทุกครั้งก็ต้องนอนในตัวจังหวัดอยู่แล้ว แถม อ.ห้วยยอดก็ห่างกับตัวเมืองตรังประมาณ 27 กม.